คนพิการ หมายถึง คนพิการ คือ บุคคลที่มีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือจิตใจ อย่างไรที่เรียกว่าคนพิการคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ทั้งนี้เพราะคนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน แต่ในทุกๆสังคมมิได้มีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกันทั้งหมดยังมีบุคคลประเภทหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางด้านร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ ทำให้เป็นอุปสรรค ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม ซึ่งเราเรียกบุคคล เหล่านี้ว่าคนพิการ
|
ประเภทความพิการมี 7 ประเภท 1. พิการทางการเห็น 2. พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3. พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4. พิการจิตใจหรือพฤติกรรม 5. พิการทางสติปัญญา 6. พิการทางการเรียนรู้ 7. พิการทางการออทิสติก
|
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นทำบัตรประจำตัวคนพิการ… 1. บัตรประจำตัวประชาชนคนพิการ จำนวน 1 ฉบับ 2. สำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ จำนวน 1 ฉบับ 3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแล จำนวน 1 ฉบับ 4. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ดูแล จำนวน 1 ฉบับ 5. รูปถ่าย 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป 6. เอกสารรับรองความพิการโดยประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด เว้นแต่กรณีสภาพความพิการ
|
อะไร คือ พิการโดยประจักษ์… พิการโดยประจักษ์ คือ สภาพความพิการที่สามารถ ขอมีบัตรประจำตัวคนพิการได้ โดยไม่ต้องมีใบรับรองความพิการ ได้แก่ คนตาบอดไม่มีลูกตาทั้งสองข้าง คนหูหนวกไม่มีรูทั้งสองข้าง คนพิการทางร่างกายที่แขนขาดตั้งแต่ข้อมือขึ้นไป หรือขาขาดตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นไป
|
บัตรประจำตัวคนพิการ ทำที่ไหนได้บ้าง? กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน (หน่วยให้บริการร่วมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)และหน่วยงานเครือข่ายที่รับจัดบริการให้อย่างเต็มใจ..ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี งานสิทธิประโยชน์ สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ต่างจังหวัด ติดต่อที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) อยู่ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่ อบต./เทศบาล
|
สิทธิประโยชน์คนพิการควรได้รับ คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้วสามารถยื่นคำขอใช้สิทธิประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยจากรัฐตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 หรือ ตามกฎหมายอื่นกำหนด ได้แก่ 1. การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ ในเรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการเพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น คนพิการที่มีบัตรทองผู้พิการ (ท.74) สามารถเข้าถึงและใช้บริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ 2. การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางการศึกษา ในเรื่อง การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะ หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สำหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างทั่วถึง 3. การส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ ในเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงานมาตรการเพื่อการมีงานทำตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด และการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการหน่วยงานของรัฐ หรือสถานศึกษาเอกชน 4. การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางสังคมและสวัสดิการ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางสังคมและสวัสดิการเป็นไปอย่างทั่วถึง เช่น ให้บริเวณล่ามภาษามือ การช่วยเหลือทางกฎหมาย การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ 5. การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิคนพิการมิให้สภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมสำหรับคนพิการ 6. บริการให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ คนพิการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) และผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รายละไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย 7. การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ให้บริการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการเพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันในที่อยู่อาศัยของคนพิการเอง เช่นการปรับปรุงห้องน้ำ โดยการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นที่คนพิการอาศัยอยู่เป็นหลัก ในอัตราเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 20,000 บาทตามที่กฎหมายกำหนด 8. การจัดบริการล่ามภาษามือ 9. การสนับสนุนผู้ช่วยคนพิการ 10. การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ
|